Tuesday, September 9, 2008

ความสำเร็จของสำนักงานแห่งการเรียนรู้

ความสำเร็จที่เห็นได้ชัดคือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความคิดและพฤติกรรมซึ่งมีผลต่อการพัฒนาปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งนี้มีองค์ประกอบสำคัญของการก้าวสู่ความสำเร็จของสำนักงานแห่งการเรียนรู้อยู่ 6 ประการได้แก่
1. ภาวะผู้นำ ( Leadership ) เป็นวิธีการซึ่งบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นสำนักงานแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างผู้นำที่มีบทบาทสำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ( Shared Vision )
1.2 การออกแบบโครงสร้าง ( Design Structure )
1.3 ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ ( Servant Leadership )
ภาวะผู้นำตามบทบาทเหล่านี้จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่ ของผู้นำในสำนักงานแห่งการเรียนรู้ซึ่งจะมีความสำคัญและเป็นองค์ประกอบหลักของความสำเร็จสู่การเป็นสำนักงานแห่งการเรียนรู้
2. โครงสร้างแนวนอน / เครือข่าย ( Horizontal / Network Structure ) สำนักงานแห่งการเรียนรู้ใช้หลักการใหม่ ๆ เพื่อให้ประสพความสำเร็จจากการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความเชื่อมโยงกันในแนวราบ ทั้งในด้านการทำงานและสถานที่ทำงาน พนักงานควรออกสนาม ( fields ) คือมีโอกาสได้สัมผัสพื้นที่การขายหรือการบริการเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า ( แนวโน้มนี้ใช้กับหลักการรีเอ็นจีเนียริ่งเช่นเดียวกัน ) ด้วยความรวดเร็วและประสิทธิผล โครงสร้างแบบนี้ต้องสะท้อนแนวทางปฏิรูปความคิดทางการบริหาร เช่น การทำงานเป็นกลุ่มสำคัญมากกว่าการทำงานของแต่ละบุคคล เป็นต้น สมาชิกกลุ่มรับผิดชอบในการฝึกอบรม รักษาความปลอดภัย ตารางการหยุดงานและแม้กระทั่งการตัดสินใจด้านการจ่ายผลตอบแทน
3. การมอบอำนาจให้พนักงาน ( Employee Empowerment ) เป็นการให้อำนาจ อิสระความรู้และความชำนาญ เพื่อให้พนักงานเกิดการตัดสินใจและลงมือปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมอบอำนาจแบบนี้ ( Empowerment ) สะท้อนถึงการทำงานด้วยตนเองเป็นกลุ่ม มีการสร้างคุณภาพ การกำหนดคุณลักษณะของงาน อำนาจหน้าที่ การฝึกอบรม เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้โดยอิสระ แต่ละกลุ่มจำสามารถระดับการมอบอำนาจได้สูงขึ้นเพียงใดขึ้นอยู่กับตัวเนื้อหางาน และความซับซ้อนของงาน งานที่มีความซับซ้อนมากต้องใช้ปริมาณการมอบอำนาจมากกว่างานการซ่อมอุปกรณ์ เป็นต้น
4. การแบ่งปันข้อมูล ( Information Sharing ) ภายในสำนักงานแห่งการเรียนรู้ มีข้อมูลมากมายพนักงานต้องระวังการใช้และเข้าใจองค์รวม รวมทั้งทราบว่าแต่ละคนอยู่ในส่วนใดขององค์รวมนั้นเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการและแก้ปัญหาได้จริง ผู้บริหารสำนักงานควรรู้ข้อมูลให้มากและรู้จักเลือกใช้การสื่อสารแบบเปิด ( Open Communication ) ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีของการติดต่อสื่อสารก็มีบทบาทช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลที่มีประสิทธิผลด้วยเช่นกัน
5. การกำหนดกลยุทธ์ ( Emergent Strategy ) แต่เดิมการวางแผนและการกำหนดกลยุทธ์เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง สำหรับสำนักงานแห่งการเรียนรู้ ผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูงยังคงมีอิทธิพลต่อวิสัยทัศน์และทิศทางในภาพรวม เพียงแต่มิได้เป็นผู้ควบคุมและสั่งการด้านกลยุทธ์โดยลำพัง เพราะจะมีพนักงานทุกคนช่วยกัน ตามที่ทราบกัน หัวใจแห่งความสำเร็จของสำนักงานแห่งการเรียนรู้ คือ พนักงาน ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์ควรให้ทุกคนมีบทบาทในการพัฒนาสร้างเสริมแนวทางให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง
6. วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ( Strong Culture ) วัฒนธรรมองค์การเป็นกลุ่มของคุณค่าหลัก ความเชื่อ ความเข้าใจ และบรรทัดฐานที่ร่วมกันในระหว่างสมาชิกภายในองค์การ และพื้นฐานของสำนักงานแห่งการเรียนรู้เช่นเดียวกัน การที่จะเกิดวัฒนธรรมที่เข้มแข็งได้นั้นต้องครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 3 ประการ คือ
6.1 ภาพรวมมีความสำคัญมากกว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง และขอบเขตระหว่างส่วน
งานต่าง ๆ ควรมีให้น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย
6.2 วัฒนธรรมสร้างความรู้สึกของชุมชน ความเมตตากรุณา และการเอาใจใส่
กันและกันภายในสำนักงาน
6.3 คุณค่าของวัฒนธรรมได้รับการปรับปรุง พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

No comments: